หน้าแรก การสรรหา ผู้แทนกองทุนพัฒนาไฟฟ้าประเภท ค
การสรรหา ผู้แทนกองทุนพัฒนาไฟฟ้าประเภท ค
 
การคัดเลือกผู้พิจารณาอนุมัติโครงการชุมชนเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่นสำหรับกองทุนประเภท ค

    สำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าประเภท ค ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับการจัดสรรเงินน้อย ควรมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม โดยมีปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่เกินหนึ่งร้อยล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี และมีรายได้ไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อปี ซึ่งมีพื้นที่ประกาศครอบคลุมถึงตำบลโดยรอบโรงไฟฟ้าที่อยู่ ในรัศมีจากศูนย์กลางโรงไฟฟ้าเป็นระยะทางรัศมีหนึ่งกิโลเมตร และตามระเบียบคณะกรรมการกำกับ กิจการพลังงาน ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการ ดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 ข้อ 7 วรรคสาม กำหนดให้สำนักงาน กกพ. จัดให้มีผู้แทนซึ่งมาจาก เทศบาล หรือผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล (รวมถึงผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร และผู้แทนจากเมืองพัทยา)  จำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโครงการชุมชนเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่น

1. การขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานกองทุน พัฒนาไฟฟ้าประเภท ค


    ในแต่ละปีงบประมาณ  หลังจากที่งบประมาณของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าได้รับความเห็นชอบจาก กกพ. แล้ว สำนักงาน กกพ. จะทำหนังสือแจ้งหัวหน้าหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ประกาศ (นายก องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ นายกเทศมนตรี) ทราบแนวทางดำเนินงาน การจัดให้มี  ผู้แทนกองทุนประเภท ค (ผู้แทนฯ) คุณสมบัติและหน้าที่ของผู้แทนฯ รวมทั้งประสานงานกับผู้รับใบ อนุญาตเพื่อช่วยอำนวยการและทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของผู้แทนฯ

2. แนวทางการจัดให้มีผู้แทนจากเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลใน พื้นที่ประกาศ
    เพื่อให้การใช้จ่ายเงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนพัฒนา ไฟฟ้า และเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน โดยเฉพาะชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าได้มีส่วนร่วมในการบริหาร และจัดการเงินกองทุนฯ ซึ่งการกำหนดพื้นที่ประกาศ หรือพื้นที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้านั้น จะพิจารณาจากตำบลที่อยู่ภายใต้รัศมี 1 กิโลเมตรจากศูนย์กลางโรงไฟฟ้าเป็นสำคัญ ซึ่งมีผู้แทนจาก เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ประกาศ (ผู้แทนฯ) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่นตามที่ กกพ. กำหนด โดยสรุปแนวทางในการคัดเลือกผู้แทนฯ ดังนี้

   (1) กองทุนในพื้นที่ประกาศมีพื้นที่ครอบคลุมหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพียงหน่วยงานเดียว (เช่น ในพื้นที่ประกาศรัศมี 1 กิโลเมตรจากศูนย์การโรงไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเดียว และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบเพียงหน่วยงานเดียว) ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้น พิจารณาจัดส่งผู้แทนฯ จำนวนไม่เกิน 3 คน


   (2) กองทุนในพื้นที่ประกาศมีพื้นที่ครอบคลุมหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 2 หน่วยงาน ให้หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้า (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี) พิจารณาจัดส่งผู้แทนฯ จำนวน 2 คน และหัวหน้าหน่วยงานที่มิใช่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพิจารณาจัดส่งผู้แทนฯ จำนวน 1 คน




    (3) กองทุนในพื้นที่ประกาศมีพื้นที่ครอบคลุมหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 3 หน่วยงาน ให้หัวหน้าหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี) พิจารณาจัดส่งผู้แทนฯ หน่วยงานละ 1 คน


    (4) กองทุนในพื้นที่ประกาศมีพื้นที่ครอบคลุมหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มากกว่า 3 หน่วยงาน ให้หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้า (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี) พิจารณาจัดส่งผู้แทนฯ จำนวน 1 คน สำหรับผู้แทนฯ สัดส่วนที่เหลือ (จำนวน 2 คน) ให้ หัวหน้าหน่วยงานที่มิใช่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้า (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี) พิจารณา จัดส่งตัวแทนหน่วยงานละ 1 คน โดยสำนักงาน กกพ. ประจำเขต ประสานขอความร่วมมือจากนายอำเภอหรือ หัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ ที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการ จัดให้มีการคัดเลือกเป็นผู้แทนฯ สัดส่วนที่เหลือ จำนวน 2 คน


3. การแจ้งรายชื่อผู้แทนฯ
    หลังจากได้รายชื่อผู้แทนฯ จำนวน 3 คน ตามแนวทางที่กำหนดในข้อ 1.3 แล้วให้สำนักงาน กกพ. ประจำเขต ดำเนินการรวบรวมรายชื่อ และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่หน่วยงานในพื้นที่ประกาศเสนอ ชื่อผู้แทนฯ ส่งให้สำนักงาน กกพ. (ส่วนกลาง) เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้แทนกองทุนประเภท ค ต่อไป

4. คุณสมบัติของผู้แทนฯ
     เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชน ได้มี ส่วนร่วมในการบริหารและจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า กกพ. จึงได้ กำหนดคุณสมบัติของผู้แทนฯ ที่หัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่ประกาศจะเสนอ รายชื่อเพื่อเป็นผู้แทนฯ จำนวนไม่เกิน 3 คน ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ผู้แทน คพรฟ. ภาคประชาชน

คุณสมบัติของผู้แทนจากเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ประกาศ (ผู้แทนฯ) ต้องมี คุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
    (1)  มีสัญชาติไทย
    (2)  มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
    (3)  มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่า การศึกษาภาคบังคับ
    (4)  มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประกาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ ดำเนินการคัดเลือกหรือเสนอรายชื่อผู้แทน
    (5)  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
    (6)  ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
    (7)  ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
    (8)  ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
    (9)  ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
    (10) ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายัง ไม่ถึงห้าปีในวันดำเนินการคัดเลือกหรือเสนอรายชื่อผู้แทนฯ เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ
    (11) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริต ต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
    (12) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

5. วาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนฯ
     เพื่อ ให้การบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าประเภท ค  เป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ สำนักงาน กกพ. จึงกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่งของผู้แทนฯ มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับตั้งแต่วันที่ ได้รับการแต่งตั้ง ประกอบกับโครงการชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าประเภท ค ดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐ เมื่อโครงการชุมชนได้รับการอนุมัติ ก็สามารถดำเนินการตามระเบียบของหน่วยงาน นั้น ๆ ต่อไป





หน้าแรก
กองทุนมาตรา 97(3)
  • ความเป็นมา
  • ประเภทของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กรอบการจัดสรรเงินกองทุน
  • ประเภทของการบริหารกองทุน
  • การสรรหา คพรฟ./คพรต.
  •     - ที่มาของ คพรฟ.
        - ที่มาของ คพรต.
        - ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา
        - เวทีประชาสัมพันธ์ระดับตำบล
        - เวทีประชาคมหมู่บ้าน
        - เวทีประชุมตำบล
        - ภาพการสรรหาคณะกรรมการกองทุน
  • การสรรหาผู้แทน กองทุน ค
  • ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  •     - รายละเอียดของแต่ละกองทุน
    การจัดทำแผนงานประจำปี
  • การจัดทำแผนงานประจำปี ของ คพรฟ.
  •     - การจัดทำแผนงานประจำปี
        - การสำรวจความต้องการของประชาชน
        - ประเภทโครงการชุมชนที่สามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุน
  • การจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการ
  • การพิจารณาโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน
        - แนวทางการพิจารณาแผนงาน
        - ประเด็นเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึง
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  •     - การจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • การดำเนินโครงการชุมชน
  •     - การจัดทำสัญญารับการสนับสนุน
        - แนวปฏิบัติด้านการเงิน
        - แนวปฏิบัติสำหรับการเบิกจ่ายเงินกองทุน
        - แนวทางการเก็บเอกสารทางการเงิน
        - แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การรับเงินและทรัพย์สิน
  •     - ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับเงินและทรัพย์สิน
    ผลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบฯ
  • พื้นที่ประกาศกองทุน
  •     - หลักการกำหนดพื้นที่ประกาศ
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ก
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ข
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ค
  • คณะกรรมการกองทุน
  •     - คำสั่งแต่งตั้ง คพรฟ.
        - คำสั่งแต่งตั้ง คพรต.
        - ผู้แทน กองทุน ค
  • กรอบงบประมาณ ที่ กกพ. อนุมัติ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการอนุมัติแผนงานฯ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการพิจารณาแผนงานฯ อื่น ๆ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
  • ผลการพิจารณางบประมาณเหลื่อมปี
  •     - กองทุนฯ ประเภท ก
        - กองทุนฯ ประเภท ข
    คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี